มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-21 - วิกิพีเดีย
- ️Mon Jun 06 2011
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มิค-21 | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | เครื่องบินขับไล่ |
ชาติกำเนิด | ![]() |
บริษัทผู้ผลิต | สำนักงานออกแบบมิโคยัน-กูเรวิชค์ |
ผู้ออกแบบ | |
สถานะ | อยู่ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | กองทัพอากาศโซเวียต กองทัพอากาศอินเดีย กองทัพอากาศโรมาเนีย กองทัพอากาศประชาชนเวียดนาม |
จำนวนที่ผลิต | 11,496 ลำ[1] (10,645 ลำผลิตในสหภาพโซเวียต อีก 194 ลำผลิตในเชโกสโลวะเกียและ 675 ลำผลิตในอินเดีย) |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | พ.ศ. 2502 (มิก-21เอฟ) ถึงพ.ศ. 2528 (มิก-21บิส) |
เริ่มใช้งาน | พ.ศ. 2502 (มิก-21เอฟ) |
เที่ยวบินแรก | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 |
ปลดประจำการ | พ.ศ. 2533 (รัสเซีย) |
สายการผลิต | เฉิงตู เจ-7 |
มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-21 (อังกฤษ: Mikoyan-Gurevich MiG-21 Fishbed, รัสเซีย: Микоян и Гуревич МиГ-21) (นาโต้ใช้ชื่อรหัสว่าฟิชเบด) เป็นเครื่องบินขับไล่พลังไอพ่นเร็วเหนือเสียงที่ออกแบบและสร้างขึ้นโดยมิโคยัน-กูเรวิชค์ของสหภาพโซเวียต มันมีชื่อเล่นว่า"บาลาไลก้า" (balalaika) ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีของรัสเซีย หรือ ołówek (แปลว่าดินสอ) โดยนักบินโปแลนด์[2] รุ่นแรกๆ ถูกจัดว่าเป็นเครื่องบินเครื่องยนต์ไอพ่นรุ่นที่สอง ในขณะที่รุ่นต่อมาถูกจัดว่าเป็นรุ่นที่สาม มีประมาณ 60 ประเทศ ในกว่า 4 ทวีปที่ใช้ Mig-21 และมันยังคงประจำการอยู่ในหลายประเทศมากว่าครึ่งศตวรรษตั้งแต่ที่มันบินครั้งแรก Mig-21 ได้ทำสถิติไว้มากมายในประวัติศาสตร์การบินยุคใหม่ รวมทั้งมันยังเป็นเครื่องบินไอพ่นที่ผลิตออกมามากที่สุดในประวัติศาสตร์การบิน เป็นเครื่องบินรบที่มีมากที่สุดตั้งแต่สงครามเวียดนาม และเป็นการผลิตที่ยาวนานที่สุดของเครื่องบินรบ ( 1959 - 1985 ) [1]
![](https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/3/30/Mikoyan-Gurevich_MiG-21_3-view_line_drawing.png/300px-Mikoyan-Gurevich_MiG-21_3-view_line_drawing.png)
มิก-21 เป็นเครื่องบินขับไล่พลังไอพ่นของโซเวียตที่พัฒนาต่อๆ กันมา มันเริ่มจากมิก-15 มิก-17 และมิก-19 มีการออกแบบเพื่อความเร็ว 2 มัคมากมายเกิดขึ้นโดยใช้พื้นฐานจากการมีช่องรับลมที่ส่วนปลายจมูกของเครื่องบินและปีกที่ลู่ไปข้างหลัง อย่าง ซุคฮอย ซู-7 หรือที่มีหางทรงสามเหลี่ยม ซึ่งมิก-21 เป็นแบบที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด
การพัฒนาที่กลายมาเป็นมิก-21 เริ่มขึ้นในต้นทศตวรรษที่ 2493 เมื่อสำนักงานออกแบบมิโคยันทำการทดสอบกับต้นแบบของยี-1 สำเร็จในปีพ.ศ. 2497 โครงการนี้เป็นการทำงานอีกครั้งที่รวดเร็วมากเมื่อมันเป็นการตัดสินว่าเครื่องยนต์จะเป็นแบบใด
![](https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d0/MiG21operators.png/220px-MiG21operators.png)
แองโกลา
อาเซอร์ไบจาน
บัลแกเรีย
โครเอเชีย
คิวบา
อียิปต์
กินี
อินเดีย
ลิเบีย
มาลี
โมซัมบิก
นามิเบีย
เกาหลีเหนือ
โรมาเนีย
เซอร์เบีย
ซูดาน
ซีเรีย
ยูกันดา
เวียดนาม
เยเมน
แซมเบีย
อัฟกานิสถาน
แอลจีเรีย
บังกลาเทศ
เบลารุส
บูร์กินาฟาโซ
กัมพูชา
ชาด
จีน
สาธารณรัฐคองโก
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
เชโกสโลวาเกีย
เช็กเกีย
เยอรมนีตะวันออก
เอริเทรีย
เอธิโอเปีย
ฟินแลนด์
เยอรมนี
จอร์เจีย
กินี-บิสเซา
ฮังการี
อินโดนีเซีย
อิหร่าน
อิรัก
คีร์กีซสถาน
ลาว
มองโกเลีย
มาดากัสการ์
ไนจีเรีย
โปแลนด์
รัสเซีย
สโลวาเกีย
โซมาเลีย
สหภาพโซเวียต
แทนซาเนีย
เติร์กเมนิสถาน
ยูเครน
ยูโกสลาเวีย
ซาอีร์
รายละเอียด มิโกยัน มิก-21
[แก้]
![](https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/3/30/Mikoyan-Gurevich_MiG-21_3-view_line_drawing.png/300px-Mikoyan-Gurevich_MiG-21_3-view_line_drawing.png)
- ผู้สร้าง:(โรงงานสร้างอากาศยานแห่งสหภาพโซเวียต) ปัจจุบันคือสำนักงานมิโคยัน-กูเรวิชค์
- ประเภท:เจ๊ตขับไล่เอนกประสงค์ ที่นั่งเดียว
- เครื่องยนต์:เทอร์โบเจ๊ต ตูมันสกาย อาร์-25 ให้แรงขับ 7,500 กิโลกรัม เมื่อสันดาบท้าย 1 เครื่อง
- กางปีก:7.15 เมตร
- ยาว:15.76 เมตร
- สูง:4.5 เมตร
- พื้นที่ปีก:23 ตารางเมตร
- น้ำหนักวิ่งขึ้นปกติ:9,070 กิโลกรัม
- อัตราเร็วขั้นสูง:2.1 มัค(2,175กม./ชม.) ที่ระยะสูง 11,000 เมตร และ 1.06 มัค ที่ระดับน้ำทะเล
- รัศมีทำการรบ: 560 กิโลเมตร เมื่อปฏิบัติการภารกิจสกัดกั้น
- อาวุธ:ปืนใหญ่อากาศลำกล้องคู่ แบบ จีเอสเอช-23 ขนาด 23 มม. 1 กระบอก พร้อมกระสุน 200 นัด
- ภารกิจสกัดกั้น
- อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ เค-13 อะทอลล์(Atoll) นำวิถีด้วยรังสีอินฟาเร็ด 2 นัด ที่ใต้ปีกด้านใน
- อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ แอ็ดวานซ์ อะทอลล์(Advanced Atoll) นำวิถีด้วยเรดาร์ 2 นัด ที่ใต้ปีกด้านนอก
- ภารกิจโจมตี
- อาวุธปล่อยอากาศสู่พื้นดินแบบ เอส-24 จำนวน 4 นัด
- กระเประจรวด ยูวี-16-57 บรรจุจรวดขนาด 57 มม. 16 นัด กระเประจรวด ยูวี-16-57 จำนวน 4 กระเประ
- ลูกระเบิดขนาด 500 กิโลกรัม และ 250 กิโลกรัม อย่างละ 2 ลูก