th.wikipedia.org

เส้นแบ่ง (มุทราศาสตร์) - วิกิพีเดีย

  • ️Sun Oct 05 2008

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เส้นแบ่ง (อังกฤษ: Line) ในมุทราศาสตร์ “เส้นแบ่ง” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ใช้ในการแบ่งโล่ (division of the field) และการสร้างลายตรา (variations of the field) และ เครื่องหมาย (charges) ที่ใช้ในมุทราศาสตร์ ที่ตามปกติจะเป็นเส้นตรง แต่อาจจะมีหลายรูปหลายแบบ (การกำหนดชนิดของ “เส้นแบ่ง” บางครั้งต้องเป็นไปอย่างระมัดระวังระหว่างเส้นแบ่งตามธรรมเนียมที่ใช้กันมาและเส้นแบ่งที่แปลกออกไป[1] เก็บถาวร 2008-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และการแยกระหว่าง “เส้นแบ่ง” และ “เครื่องหมาย” เช่นในนิยาม “a mount [or triple mount] in base” (“เนิน [หรือเนินสามเนิน] ตอนล่าง”) หรือโดยเฉพาะในมุทราศาสตร์เยอรมันที่ใช้หยักเชิงเทินจากกำแพงเมืองในการเป็น “เส้นแบ่ง” หรือ “เครื่องหมาย”)

ในสกอตแลนด์การใช้เส้นแบ่งมักจะใช้ในการแต่งเติมขอบโล่ (หรือเรขลักษณ์อื่นๆ) เพื่อให้ทำให้ตราเป็นเอกลักษณ์ (cadency) จากตราของประมุขเจ้าของตราอาร์มหลัก

ลักษณะ ลักษณะ ตัวอย่าง Blazon / นิยาม และ คำอธิบาย

Indented

Dancetty
หยักจั่ว และ หยักแหลม (Indented และ dancetty)
มีลักษณะเป็นเส้นซิกแซกเหมือนหยักสามเหลี่ยม ที่ยอดแหลมเรียงตรงกัน ส่วนหยักแหลมมีจำนวนน้อยกว่าหยักจั่ว เช่นในตราของ Ergué Gabéric (ซ้าย)

Wavy

Nebuly
หยักคลื่น และ หยักปูด (Wavy และ nebuly)
มีลักษณะโค้งเหมือนคลื่นที่มักจะใช้เป็นสัญลักษณ์ของน้ำ แม่น้ำ หรือทะเล ส่วนหยักปูดคล้ายคลื่นและส่วนโค้งบานออกไปมากกว่า ที่มักจะใช้เป็นสัญลักษณ์ของเมฆ ในการสร้างตราอาร์มสมัยแรงเส้นแบ่งสองเส้นนี้มิได้แยกจากกัน ตัวอย่างของตราที่มีหยักปูดก็ได้แก่ตราของฮาสแบร์เก็นในเยอรมนี

Engrailed

Invected
หยักโค้งนูน และ หยักโค้งเว้า (Engrailed และ invected)
หยักโค้งนูนมีลักษณะเป็นโค้งครึ่งวงกลมเรียงต่อกัน หยักโค้งเว้ามีลักษณะเป็นเว้าครึ่งวงกลมเรียงต่อกัน เช่นในตราของดยุคแห่งเบร์รี (ซ้าย) ที่นิยามว่ามี ขอบโล่หยักโค้งนูนสีแดง

Embattled

Raguly
หยักเชิงเทิน และ หยักเชิงเทินแปรรูป (Embattled)
มีลักษณะเหมือนหยักบนเชิงเทินบนกำแพงเมืองหรือกำแพงปราสาทที่มีด้วยกันหลายแบบเช่นหยักเชิงเทินทแยงซ้ายของ Mézières-en-Gâtinais ในฝรั่งเศส

Enarched

Party per chevron

หยักเดี่ยว (Embowed)
มีลักษณะหยักหรือโค้งเดียวบนโล่ เช่นในตราอาร์มของมาร์ค ฟิลลิปส์

ตัวอย่างแสดงเส้นแบ่งชนิดต่างๆ

[แก้]

แต่ละเส้นแบ่งตามตัวอย่างข้างล่างก็จะนิยามว่า “Per fess _______ argent and gules” (“แบ่งขวาง _______ สีเงินและสีแดง” (นิยามสีท่อนบนก่อนท่อนล่าง))

  • “engrailed” “หยักโค้งเว้า”

    “engrailed”
    “หยักโค้งเว้า”

  • “invected” “หยักโค้งนูน”

    “invected”
    “หยักโค้งนูน”

  • “embattled” “หยักเชิงเทิน”

    “embattled”
    “หยักเชิงเทิน”

  • “wavy” “หยักคลื่น”

    “wavy”
    “หยักคลื่น”

  • “nebuly” “หยักปูด”

    “nebuly”
    “หยักปูด”

  • “fir-tree topped” “หยักต้นสน”

    “fir-tree topped”
    “หยักต้นสน”

  • “fir-twigged” “หยักกิ่งสน”

    “fir-twigged”
    “หยักกิ่งสน”

  • “indented” “หยักจั่ว”

    “indented”
    “หยักจั่ว”

  • “dancetty” “หยักแหลม”

    “dancetty”
    “หยักแหลม”

  • “indented” “หยักแหลมลึก”

    “indented”
    “หยักแหลมลึก”

  • “enarched” “แบ่งโค้ง”

    “enarched”
    “แบ่งโค้ง”

  • “per chevron” “แบ่งจั่ว”

    “per chevron”
    “แบ่งจั่ว”

  • “trefly-counter-trefly” “หยักจิกดอกจิก”

    “trefly-counter-trefly”
    “หยักจิกดอกจิก”

  • “??” “หยักกางเขน”

    “??”
    “หยักกางเขน”

  • “potenty” “หยักตาปู”

    “potenty”
    “หยักตาปู”

  • “??” “หยักข้าวหลามตัด”

    “??”
    “หยักข้าวหลามตัด”

  • “??” “หยักโพดำ”

    “??”
    “หยักโพดำ”

  • “indented pommetty” “หยักแหลมยอดปุ่ม”

    “indented pommetty”
    “หยักแหลมยอดปุ่ม”

  • “??” “หยักเปลว”

    “??”
    “หยักเปลว”

  • “embattled grady” “หยักเชิงเทินหลั่น”

    “embattled grady”
    “หยักเชิงเทินหลั่น”

  • “rayonny” “หยักเปลวเล็ก”

    “rayonny”
    “หยักเปลวเล็ก”

  • “dovetailed” “หยักหางนกพิราบ”

    “dovetailed”
    “หยักหางนกพิราบ”

  • “bevilled” “หยักขยักแหลม”

    “bevilled”
    “หยักขยักแหลม”

  • “??” “หยักเชิงเทินงอ”

    “??”
    “หยักเชิงเทินงอ”

  • “raguly” “หยักเชิงเทินเอียงซ้าย”

    “raguly”
    “หยักเชิงเทินเอียงซ้าย”

  • “nebuly” “หยักหัวใจ”

    “nebuly”
    “หยักหัวใจ”

  • “??” “หยักเปลวสลับแหลม”

    “??”
    “หยักเปลวสลับแหลม”

  • “urdy” “หยักเชิงเทินยอดแหลม”

    “urdy”
    “หยักเชิงเทินยอดแหลม”

  • “??” “หยักขยักแหลมบันได”

    “??”
    “หยักขยักแหลมบันได”